วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 3

บทที่ ๑
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราเองต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ     สังคม คือกลุ่มของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่เข้ามาอยู่รวมกันจนมีวัฒนธรรมหรือระเบียบแบบแผนในการดำรงชีวิตเป็นของตนเอง มนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการดำรงชีวิต ทั้งทางด้านความจำเป็นพื้นฐานและความอยู่รอดปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยความจำเป็นของการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกันและมีกิจกรรมร่วมกันเหล่านี้ ทำให้เกิดแนวคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตอย่างเดียวกัน ในที่สุดก็จะพัฒนาไปสู่การมีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมร่วมกันของสังคมนั้น
          เมื่อมนุษย์จำนวนมากมาอยู่รวมกันเป็นสังคมย่อมต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิต ซึ่งต่างคนย่อมมีความรู้ ความคิดเห็น และจิตใจที่แตกต่างกัน อาจก่อให้เกิดข้อขัดแย้งกันระหว่างสมาชิกในสังคมด้วยกันได้ ซึ่งจะทำให้สังคมขาดความเป็นระเบียบ เกิดความไม่สงบวุ่นวายและเสียหายขึ้น นำไปสู่ความล่มสลายของสังคมนั้นในที่สุด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างกฎเกณฑ์และกติกาต่าง ๆ ขึ้นใช้บังคับแก่สมาชิกในสังคม เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบเป็นไปในทำนองเดียวกัน และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมไว้ ซึ่งจะทำให้สังคมเกิดความสงบสุขขึ้นได้ กฎเกณฑ์หรือกติกาดังกล่าวคือกฎหมาย ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่กำหนดให้คนในสังคมต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความสงบสุขและเรียบร้อยภายในสังคม โดยมีองค์กรหรือสถาบันที่คอยส่งเสริมแนะนำให้คนปฏิบัติตามกฎหมายและคอยควบคุมมิให้คนในสังคมฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งจะมีการกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนไว้ด้วย
          ลักษณะสำคัญของกฎหมายคือจะมีอำนาจในการบังคับใช้กับทุกคนในสังคมเป็นการทั่วไป โดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่เจาะจงใช้บังคับเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และมีการกำหนดแนวทางให้ปฏิบัติหรือข้อห้ามการปฏิบัติรวมถึงการละเว้นจากการปฏิบัติดังกล่าวด้วย โดยกำหนดระดับของการกระทำผิดที่ชัดเจนไว้ กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดควบคุมความประพฤติของประชาชนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ กฎหมายมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลสังคม ระงับข้อพิพาทและความขัดแย้งของสมาชิกในสังคม และเป็นกลไกในการรักษาความเที่ยงธรรมและหลักของศีลธรรมในสังคมให้ดำเนินไปด้วยความสงบสุข

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ    ผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคมจึงต้องยึดมั่นและเคารพต่อหลักเกณฑ์ของกฎหมายในบ้านเมืองที่กำหนดไว้  ต้องไม่พยายามหาช่องว่างหรือช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และไม่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ทั้งไม่พยายามใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นที่อ่อนด้วยกว่าทางสังคม หากมีผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือใช้อิทธิพลข่มขู่บังคับหรือใช้วิธีการนอกเหนือกฎหมาย อาจเป็นข้าราชการที่มีอำนาจในระดับสูงหรือผู้มีอิทธิพลซึ่งอาจใช้อำนาจเกินขอบเขตหรือใช้ตามอำเภอใจโดยไม่ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่นหรือเกรงกลัวต่อกฎหมาย  จึงต้องมีการใช้มาตรการลงโทษโดยเด็ดขาดเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสมาชิกในสังคม
          กฎหมายจึงเป็นเครื่องมือในการสร้างความสงบสุขและความเป็นธรรมให้แก่บุคคลในสังคม ให้มีสิทธิและหน้าที่โดยเท่าเทียมกัน จากเหตุผลที่กล่าวมาในข้างต้นได้แสดงให้เห็นแล้วว่าทำไมสังคมเราจึงต้องมีกฎหมาย



3. ท่านมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นของกฎหมายต่อไปนี้
ก. ความหมาย   ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย   ค. ที่มาของกฎหมาย  ง. ประเภทของกฎหมาย    
ตอบ    ก. ความหมาย            
          กฎหมาย  หมายถึง  คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือ    รัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ
         
          ขลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
                   1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
                    หมายความว่า  กฎหมายนั้นต้องอยู่ในรูปของคำสั่ง  คำบัญชา  อันเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับ  เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ  มิใช่เป็นการประกาศชวนเชิญเฉย ๆ  เช่น  ในสมัย  จอมพล ป. พิบูลสงคราม  เป็นนายกรัฐมนตรี  รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนคนไทยให้สวมหมวก  เลิกกินหมากและให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน  ประกาศนี้แจ้งให้ประชาชนทราบว่ารัฐบาลนิยมให้ประชาชนปฏิบัติอย่างไร  มิได้บังคับจึงไม่เป็นกฎหมาย
                   2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ 
                    รัฎฐาธิปัตย์คือ  ผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน  โดยที่ไม่ต้องฟังอำนาจจากผู้ใดอีก  ดังนี้รัฎฐาธิปัตย์จึงไม่ต้องพิจารณาถึงที่มาหรือลักษณะการได้อำนาจว่าจะได้อย่างไร  แม้จะเป็นการปฏิวัติหรือรัฐประหารก็ตามถ้าหากคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารเป็นรัฎฐาธิปัตย์ที่สามารถออกคำสั่ง  คำบัญชาในฐานะเป็นกฎหมายของประเทศได้
                   3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
                    หมายความว่า  กฎหมายต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป  ไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง  หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดปฏิบัติตามเท่านั้น  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอายุ  เพศ  หรือฐานะอย่างไรก็ตกอยู่ภายใต้ของการใช้บังคับกฎของกฎหมายอันเดียวกัน  (โดยไม่เลือกปฏิบัติ)  เพราะบุคคลทุกคนมีความเสมอภาคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน  แม้กฎหมายบางอย่างอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคล  หรือวางความรับผิดชอบให้แก่คนบางหมู่เหล่า  แต่ก็ยังอยู่ในความหมายที่ว่าใช้บังคับทั่วไปอยู่เหมือนกัน  เพราะคนทั่ว ๆ  ไปที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกฎหมายนั้นก็ยังต้องปฏิบัติตามอยู่เสมอ
                   4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
                    แม้การปฏิบัติบางครั้งอาจจะเกิดจากความไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติ  แต่หากเป็นคำสั่ง  คำบัญชาแล้ว  ผู้รับคำสั่ง  คำบัญชา  ต้องปฏิบัติตาม  หากขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดสภาพบังคับของกฎหมาย  อันเป็นผลร้ายต่อผู้ฝ่าฝืนคำสั่งนั้น  และเป็นที่พึงเข้าใจด้วยว่าผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะรับคำสั่งและปฏิบัติตามกฎหมายได้นั้นต้องเป็นบุคคลตามกฎหมาย
                   5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
                    เพื่อให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์  และประชาชนเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ  (SANCTION) สภาพบังคับของกฎหมายนั้นแบ่งเป็นสภาพบังคับในทางอาญาและทางแพ่ง

          ค. ที่มาของกฎหมาย
                   1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษรเช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอานาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
                   2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนาไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น การชกมวยเป็นกีฬา หากชนตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต ย่อมไม่ผิดฐานทาร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้ ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
                   3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทาร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
                   4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคาพิพากษา ซึ่งคาพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนาไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนาไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
                   5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทาให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
         
          งประเภทของกฎหมาย
                   1. กฎหมายภายใน มีดังนี้
                   1.1  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                             (1)  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
                             (2) กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                   1.2  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                             (1) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
                             (2) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                   1.3  กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสาบัญญัติ
                             (1)  กฎหมายสารบัญญัติ
                             (2)  กฎหมายวิธีสาบัญญัติ
                   1.4  กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                             (1)  กฎหมายมหาชน
                             (2)  กฎหมายเอกชน
                  
                   2. กฎหมายภายนอก
                   2.1  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 
                   2.2  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                   2.3  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
         ตอบ     ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม   เพราะกฎหมายนั้นเกิดขึ้นจากสังคมและเพื่อสังคมไม่อาจมีสังคมไหนจะธำรงอยู่ได้โดยไม่รู้สึกต้องการกฎเกณฑ์สำหรับจัดระเบียบพฤติการณ์ในสังคม มนุษย์จำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อการใช้ชีวิตในประเทศให้มีความสุข การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัว ไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐจึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น

5.  สภาพบังคับทางกฎหมาย ท่านมีความเข้าใจ ว่า อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ    กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย  สภาพบังคับ(SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่ การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ    แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด 

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ    ระบบกฎหมายมี  2  ระบบ
          1. ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ 

          2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

8.  ประเภทของกฎหมายมีมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง
จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย
ตอบ    ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                   1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                   2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                   3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
         
          1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                    1.1  ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก  กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
                    1.2 ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมาย   ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
          2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                   2.1  กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง   คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
                   2.2  กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า  กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้  กฎหมายวิธีสบัญญัติ    จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
          3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
                   3.1  กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
                   3.2  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม  จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง       

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร
ตอบ         เมื่อกล่าวถึงศักดิ์ของกฎหมาย” (Hierachy of law)  หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าศักดิ์ของกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่อกฎหมาย โดยทั่วไปในทางวิชาการ มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความหมาย ศักดิ์ของกฎหมายไว้ว่า ลำดับชั้นของกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น
          ตัวอย่างเช่น  รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ คือ รัฐสภา  แต่บางกรณีอาจมีองค์กรอื่นเป็นผู้จัดให้มีกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญได้ เช่น คณะปฏิวัติออกรัฐธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว สามารถแบ่งได้ดังนี้ 
          1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                          
          2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
          3. พระราชกำหนด                                                        
          4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
          5. พระราชกฤษฎีกา                                                       
          6. กฎกระทรวง
          7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                      
          8. เทศบัญญัติ
          9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล

10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ     เป็นการกระทำที่ผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองกันทั้งนั้น แต่ถ้ารัฐบาลกระทำรุนแรงกับประชาชนแล้วสิทธิของประชาชนจะตั้งไว้เพื่อทำอะไร เพราะในรัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า   
                   1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                   2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
                   3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
                   4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ    กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

12.  ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
ตอบ    กฎหมายทางการศึกษา เป็นแบบแผนความประพฤติที่กำหนดให้ข้าราชการครูพึงควบคุมตนเองและควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ประพฤติหรือปฏิบัติดีตามที่กำหนดไว้ ละเว้นการประพฤติปฏิบัติสิ่งที่เป็นข้อห้ามสิ่งที่ไม่ชอบไม่ควร ซึ่งวินัยข้าราชการครูมีทั้งระเบียบ ข้อปฏิบัติของทางราชการ และสิ่งที่ครูต้องปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคมในฐานะที่อาชีพครูเป็นอาชีพพิเศษที่ทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนจำเป็นต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ และหากฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษทางวินัย

อนุทิน 2

ตีกันทำไม ?


 ยกพวกตีกันเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยและได้ยินมาตลอดตั้งแต่เล็กจนโตเพียงแต่รูปแบบของการทะเลาะกันนั้นนับวันจะยิ่งรุนแรงทวีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอดีตอาวุธที่มักได้ยินก็จำพวก ไม้หน้าสาม เหล็ก ปืนปากกา แต่ปัจจุบันที่ได้ยินตามข่าวทั่วไปจะมีอาวุธจำพวก ปืน ดาบ สปาต้า ที่พกกันอย่างโจ่งแจ้งในที่สาธารณะ ส่วนใหญ่ที่เรามักจะได้ยินหรือได้เห็นตามข่าว ดังปรากฏอยู่ในภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเด็กช่างกล หรือกลุ่มเด็กสายอาชีวะ
สาเหตุส่วนใหญ่ที่เด็กทะเลาะกัน มักเป็นเรื่องของสถาบันที่เป็นคู่อริ เรื่องส่วนตัวจัดว่าน้อยมาก เมื่อยกพวกตีกัน ส่วนใหญ่แล้วจะตืกันในที่สาธารณะ ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่อยู่ในละแวกนั้น และยังสร้างความเสื่อมเสียให้แก่สถาบันของตนเอง จากที่ได้เห็นในข่าวบางครั้งก็จะมีผู้เคราะห์ร้ายโดนลูกหลง จนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้รู้อิโหน่อิเหน่อะไรเลย แต่กลับต้องมาสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินโดยใช่เหตุ
เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทำไมถึงมีแต่พวกวัยรุ่นที่ยกพวกตีกัน ซึ่งก็อาจจะมาจากวัยนี้มีอารมณ์รุนแรงกว่าวัยอื่นๆ มีอารมณ์พลุ่งพล่าน ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ ขาดวามยับยั่งชั่งใจ ไม่เหมือนวัยผู้ใหญ่ แต่เชื่อว่าหากพวกเขาพ้นวัยนี้ พวกเขาก็จะคิดได้ แต่กว่าพวกเขาจะเป็นผู้ใหญ่ เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น
สมาชิกคนที่ 1 มีความคิดเห็นว่า: เริ่มต้นที่สถาบันของครอบครัว โดยครอบครัวต้องคอยดูแล เอาใจใส่ในตัวของนักเรียน/นักศึกษา และตอบให้กำลังใจแก่นักเรียน คอยรับฟังปัญหา
ผลดี: นักเรียนมีที่พึ่ง
ผลเสีย: บางครอบครัวไม่มีเวลาให้กับนักเรียน/นักศึกษา
          สมชิกคนที่ 2 มีความคิดเห็นว่า: ควรเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้โดยการใช้กฎหมายลงโทษพวกเขาอย่างจริงจังไม่มีการประณีประนอมใดๆทั้งสิ้น จับจริง ขังจริง ใช้กฎหมายเดียวกับผู้ใหญ่
ผลดี: อาจจะช่วยแก้ปัญหา เนื่องจากเด็กเหล่านี้อาจกลัวบทลงโทษของกฎหมาย
ผลเสีย: ทำให้นักเรียนคนนั้นหมดอนาคตไป
สมาชิกคนที่ 3 มีความคิดเห็นว่า : ให้สถาบันต่าง ๆ ใส่เครื่องแบบเหมือนกัน เมื่อนักเรียนสาเครื่องแบบเหมือนกันแล้ว ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นสถาบันใด
ผลดี : ช่วยลดความรุนแรง เหตุทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันได้
ผลเสีย : เมื่อเกิดเหตุทะเลาะวิวาท ประชาชนที่เห็นเหตุการณ์จะไม่สามารถแจ้งได้ว่าเป็นสถาบันใด
สมาชิกคนที่ 4 มีความคิดเห็นว่า: ให้นักเรียนที่มีเรื่องทะเลาะวิวาทออกจากสถาบัน โดยไม่ฟังเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้น
ผลดี : สถาบันจะดีขึ้น ไม่มีนักเรียนที่คอยสร้างความเดือดร้อนให้กับสถาบัน
ผลเสีย : นักเรียนคนนี้ก็จะไปเป็นปัญหาของสังคมต่อไป
สมาชิกคนที่ 5 มีความคิดเห็นว่า: นำนักเรียนที่มีปัญหาทะเลาะวิวาทไปเข้าค่าฝึกวินัย ฝีกความอดทนกับทหาร
ผลดี : นักเรียนจะมีระเบียบวินัยและความอดทน
ผลเสีย : เป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้น อาจจะไม่ได้ผลในระยะยาว
ในฐานะครู จะแนะนำนักเรียนอย่างไร
          ควรจะลูกฝังนักเรียนตั้งแต่เล็ก ๆ ว่าการกระทำแบบนี้เป็นการกระทำที่ไม่ดี เป็นปัญหาต่อสังคม นักเรียนไม่ควรปฏิบัติตามอย่างเด็ดขาด

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 1


แนะนำตนเอง


 ... สวัสดีค่ะ ...

ชื่อ :  นางสาววาสินีย์  รอบคอบ
ชื่อเล่น :  แอม

เกิด  :  วันพฤหัสบดี  ที่  7  พฤษภาคม  2535
รหัสนักศึกษา  5411103083

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  จากโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
นักศึกษาชั้นปีที่ 4  คณะครุศาสตร์  หลักสูตรคณิตศาสตร์

ชอบสีเขียว  ชอบกินข้าวหมูทอดกระเทียมพริกไทย
ชอบเลี้ยงแมวมาก

ที่อยู่ปัจจุบัน  :  1950/1  ตำบลท่าวัง  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  80000
ข้าพเจ้ามีพี่น้องทั้งหมด  2  คน  ข้าพเจ้าเป็นบุตรคนโต
บิดา - มารดา  ประกอบอาชีพค้าขาย/ทำสวน

ปรัชญาชีวิต : อนาคตที่ดี กำหนดได้ด้วยปัจจุบัน :)